ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ นายมานิตย์ สมลา ในรายวิชานวัตกรรมทางการศึกษา ผู้เข้าชมบล็อกสามารถดูรายละเอียดเเละเพิ่อมเติมเนื้อหาของตัวเองเพื่อการศึกษาได้/marquee>

ค้นหาบล็อกนี้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

         
จิตวิทยาการเรียนการสอน

            การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้ .....1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว .....2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส .....3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น .....4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น จิตวิทยาการศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา 
การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล นักการศึกษาและครูจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนเหมือนกับวิศวกรที่จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยทั่วไปแล้ว เนื้อหาของจิตวิทยาการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับครูและนักการศึกษาประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้ 
๑. ความสำคัญของวัตถุประสงค์ของการศึกษาและบทเรียน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เน้นความสำคัญของความแจ่มแจ้งของการระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา บทเรียน ตลอดจนถึงหน่วยการเรียน เพราะวัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดการจัดการเรียนการสอน
 ๒. ทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพ เป็นเรื่องที่นักการศึกษาและครูจะต้องมีความรู้ เพราะ จะช่วยให้เข้าใจเอกลักษณ์ของผู้เรียนในวัยต่างๆ โดยเฉพาะวัยอนุบาล วัยเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเป็น วัยที่กำลังศึกษาในโรงเรียน
 ๓. ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม นอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ แล้ว นักการศึกษาและครูจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่มทางด้านระดับเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้คิดวิธีการวิจัยที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกวิธีสอน และในการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม ๔. ทฤษฎีการเรียนรู้ นักจิตวิทยาที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ นอกจากจะสนใจว่าทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยนักเรียนให้เรียนรู้และจดจำอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรแล้ว ยังสนใจองค์ประกอบเกี่ยวกับตัวของ ผู้เรียน เช่น แรงจูงใจว่ามีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้อย่างไร ความรู้เหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน 
๕. ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาได้เป็นผู้นำในการบุกเบิกตั้งทฤษฎีการสอน ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์เท่าเทียมกับทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาการในการช่วยนักการศึกษาและครูเกี่ยวกับการเรียนการสอน สำหรับเทคโนโลยีในการสอนที่จะช่วยครูได้มากก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน 
๖. หลักการสอนและวิธีสอน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เสนอหลักการสอนและวิธีการสอนตามทฤษฎีทางจิตวิทยาที่แต่ละท่านยึดถือ เช่น หลักการสอนและวิธีสอนตามทัศนะนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม และมานุษยนิยม
 ๗. หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จะช่วยให้นักการศึกษา และครูทราบว่า การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือผู้เรียนได้สัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของ แต่ละวิชาหรือหน่วยเรียนหรือไม่ เพราะถ้าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลสูง ก็จะเป็นผลสะท้อนว่าโปรแกรมการศึกษามีประสิทธิภาพ
 ๘. การสร้างบรรยากาศของห้องเรียน เพื่อเอื้อการเรียนรู้และช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักเรียน ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู

 วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้
 ๑. ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย (Characteristics) ของนักเรียนที่ครูต้องสอน
 ๒. ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน 
 ๓. ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล 
๔. ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย 
๕. ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่าง ๆ 
 ๖. ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน 
๗. ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้ 
๘. ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีกานที่มีประสิทธิภาพ
 ๙. ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดี ไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาอย่างเดียว 
๑๐. ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน 

 การจูงใจ (Motivation) คืออะไร มีผู้ให้คำจำกัดความของการจูงใจไว้ดังนี้
 ๑. การจูงใจ คือขบวนการทางจิตใจที่ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จ และถูกต้องตามแนวทางที่ต้องการ
 ๒. การจูงใจ หมายถึงแรงซึ่งส่งเสริมให้เด็กทำงานจนบรรลุถึงความสำเร็จ และแรงนี้ย่อมนำทางให้เด็กทำงานไปในแนวที่ถูกต้องด้วย
 ๓. การจูงใจ หมายถึงพฤติกรรมที่สนองความต้องการของมนุษย์ และเป็นพฤติกรรมที่นำไปสู่ จุดหมายปลายทาง

 ผลที่ได้จากการจูงใจ
 ๑. ทำให้เกิดพลังงาน หรือเกิดมีพฤติกรรมต่างๆ ขึ้น เช่น การชมเชย ย่อมทำให้เกิดความ ชื่นบาน มีกำลังใจในการทำงานยิ่งขึ้น
 ๒. ทำให้เกิดการเลือก จัดเป็นการกำหนดพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคล เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ ผู้ที่สนใจการกีฬา ก็จะอ่านข่าวกีฬา ผู้สนใจการเมือง ก็จะอ่านข่าวการเมืองก่อนข่าวอื่น เป็นต้น การจัด บทเรียน จึงควรจัดให้ตรงกับความสนใจของเด็กเป็นประการสำคัญ
 ๓. เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความพร้อมในการเรียน นับเป็นการเร้าให้เด็กเกิดความพร้อมในการเรียนได้เป็นอย่างดี
 ๔. เป็นการนำเด็กไปสู่จุดหมายปลาย เช่น เด็กวัยรุ่นต้องการความเป็นอิสระ เลี้ยงชีพด้วยตนเอง เด็กก็จะพยายามเรียนจนสำเร็จ เพื่อจะให้หาเงินเลี้ยงชีพด้วยตนเองได้ ฉะนั้นในการให้รางวัล ครูไม่ควรให้บ่อยเกินไป หรือเป็นของที่มีราคาแพงเกินไป และควรให้เด็กได้รับรางวัลทั่วถึงกันไม่ใช่จะให้อยู่เพียง 
๒ - ๓ คนแรกเท่านั้น

 ๒. ความสำเร็จในการเรียน การที่เด็กได้รับความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากการเรียน ก็เป็นแรงจูงใจให้เด็กเรียนดีขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ดีครูต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย นั่นคือ ครูต้องจัดการสอนให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของเด็กทุกคน เพื่อให้เด็กแต่ละคนได้รับความสำเร็จตามระดับของตน การสอนที่เราทำกันเป็นปกตินั้น ได้แก่การสอนตามแบบกลางๆ ซึ่งไม่พยายามปรับบทเรียนให้เข้ากับเด็กทุกระดับ ซึ่งอาจจะทำให้เด็กที่เรียนเก่ง เบื่อหน่าย เพราะเรื่องที่สอนนั้นง่ายเกินไป คนปานกลางอาจสนุก ส่วนเด็กอ่อนอาจจะเรียนไม่ทัน เพราะครูสอนเร็วเกินไป ความสำเร็จที่เด็กได้รับแม้จะเป็นความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม แต่ก็ย่อมทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น ในตนเอง มีความภูมิใจในตนเองและมีกำลังใจที่จะเรียนมากขึ้น 

๓. การยกย่องชมเชย คำชมที่เหมาะกับโอกาสและเหมาะสมกับการกระทำของนักเรียนย่อมเป็นแรง จูงใจให้แก่เด็กเป็นอย่างดี แต่ถ้าครูชมอย่างไม่จริงใจ และเด็กรู้กันทั่วไปว่า คำชมเชยของครูไม่มีความหมายพิเศษเด็กจะไม่เอาใจใส่ต่อคำชมเชยนั้น ครูไม่ควรใช้คำชมพร่ำเพรื่อ สำหรับเด็กที่เรียนอ่อนนั้น แม้เรียนดีขึ้นเพียงเล็กน้อย เราก็ควรชมเชย ส่วนเด็กเรียนเก่ง จะชมก็ต่อเมื่อทำงานยากๆ ได้สำเร็จ คำชมของครูจึงจะมีค่าสำหรับเด็กทุกคน ในแง่ของจิตวิทยามีผู้พบแล้วว่า การชมเชยเด็กที่เก็บตัวมักได้ผลดีในการจูงใจกว่าการชมเด็กเปิดเผย และการชมเด็กเก่งมากๆ มักได้ผลน้อยกว่าการชมเด็กอ่อน

 ๔. การตำหนิ ถ้าครูใช้การตำหนิแต่เพียงเล็กน้อยไม่พร่ำเพรื่อเกินไปแล้ว การตำหนิก็มีผลในการ สร้างแรงจูงในในการเรียนได้มากเหมือนกัน ในการตำหนินั้นครูต้องทำให้เหมาะสมกับความบกพร่อง และตำหนิให้เหมาะกับโอกาส ครูไม่ควรตำหนิเด็กโดยไม่มีหลักฐาน และต้องให้เด็กรู้ว่าตนควรแก้ไขอย่างไร การตำหนิก็เหมือนกับการชมเชย ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล ถ้าครูตำหนิเด็กเรียนอ่อนมากๆ คำตำหนินั้นจะไม่มีผลในการสร้างแรงจูงใจ ถ้าตำหนิเด็กเรียนเก่งให้ตรงกับข้อบกพร่องของเด็ก คำตำหนิของครูจะมีผลดีมาก แต่เท่าที่เราปฏิบัติกันอยู่นั้นเรามักทำตรงข้ามกับคำกล่าวนี้ คือเราชอบตำหนิเด็กเรียนอ่อนและยกย่องเด็กเรียนเก่ง เด็กเก็บตัวไม่ชอบให้ครูตี เด็กพวกนี้ยิ่งตียิ่งเสียหายหนักขึ้น แทนที่จะมีผลในการสร้างแรงจูงใจ คำตำหนิของครู อาจทำให้เด็กประเภทนี้หมดกำลังใจมากขึ้น ส่วนเด็กเปิดเผยไม่เป็นไร

๕. การแข่งขัน การแข่งขันในการเรียน ถ้าเป็นไปในทำนองเป็นมิตรก็เป็นการจูงใจในการเรียนที่ดี อย่างหนึ่ง ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กแข่งขันหลาย ๆ ทาง การแข่งขัน นักจิตวิทยาแบ่งออกเป็น ๓ วิธีคือ
 ๑. แข่งขันระหว่างนักเรียนทั้งหมด
 ๒. แข่งขันระหว่าง หมู่ต่อหมู่
 ๓. แข่งขันกับตนเอง 

๖. ความช่วยเหลือ ความร่วมมือก็นับเป็นแรงจูงใจในการเรียนที่ดีอย่างหนึ่ง ตามปกติเด็กย่อมมีความต้องการฐานะทางสังคม และความต้องการความรักอยู่แล้ว ความร่วมมือเป็นการสนับสนุนให้เด็กสนองความต้องการทั้งสองอย่างนี้ได้เป็นอย่างดี 

๗. การรู้จักความก้าวหน้าของตน ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับความสำเร็จ แต่การที่เด็กจะทราบถึงความก้าวหน้าของคนนั้นต้องอาศัยการบอกกล่าวของครู ถ้าเด็กทราบความก้าวหน้าของตนอยู่เสมอ เด็กจะมีกำลังใจที่จะเรียนมากขึ้น 

๘. การรู้จักวัตถุประสงค์ของการเรียน การทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะทำให้เด็กเข้าใจแนวการเรียนได้ดีขึ้น และจะทำให้เด็กมีแรงจูงใจมากขึ้น วัตถุประสงค์ที่เด็กควรทราบมีทั้งจุดประสงค์ในระยะใกล้ และจุดประสงค์ในระยะไกล จุดประสงค์ในระยะใกล้ได้แก่ประโยชน์ปัจจุบันของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนวัตถุประสงค์ในระยะไกลได้แก่การเรียนในอนาคตของเด็กเอง ความหมายของการปรับตัว วิธีการที่บุคคลหาทางลดความวิตกกังวลให้น้อยลงหรือหมดไปนี้ก็คือการปรับตัว (Adjustment) สาเหตุของการปรับตัว คนเราจะปรับตัวเมื่อเกิดความไม่สบายใจ ความวิตกกังวล (Anxiety) ความคับข้องใจ (Frustration) และความเครียด (Tension) ซึ่งอาจจะเกิดจากสิ่งต่อไปนี้ 

๑. ไม่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐาน (need) ของตนได้ 
 ๑.๑ ความต้องการทางด้านร่างกาย
 ๑.๒ ต้องการความปลอดภัย
 ๑.๓ ต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ 
 ๑.๔ ต้องการได้รับการยกย่องนับถือ
 ๑.๕ ต้องการผู้ทำสัญญาแห่งตน
 ๒. เกิดจากความขัดแย้ง ความขัดแย้ง หมายถึง การที่บุคคลไม่สามารถจะตัดสินใจเลือกกระทำ ทั้ง ๒ อย่างได้ ในขณะเดียวกันแต่จะต้องเลือกกระทำเพียงอย่างเดียว กล่าวคือไม่สามารถจะสนองความต้องการของคนได้เด็ดขาดลงไป ความขัดแย้งมี ๓ ลักษณะ 
 ๒.๑ เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากการที่จะต้องเลือกเพียงอย่างเดียว ในสิ่งที่ตัวชอบเท่าๆ กัน ตั้งแต่ ๒ - ๓ อย่างขึ้นไป จะไม่เลือกก็ไม่ได้ เลือกไปแล้วก็ไม่สบายใจเพราะสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเราไม่ชอบเลยแต่เราก็ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
 ๒.๒ เกิดจากการที่ตัวเองต้องเลือกในสิ่งที่ไม่ชอบเลยตั้งแต่ ๒ - ๓ อย่างขึ้นไป จะไม่เลือกก็ไม่ได้ เลือกไปแล้วก็ไม่สบายใจ เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเราไม่ชอบเลย แต่เราก็ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
 ๒.๓ เกิดขึ้นในกรณีที่สิ่งต่างๆ หรือบุคคลหรือสัตว์ ที่เราต้องเลือกนั้นมีทั้งถูกใจและไม่ถูกใจเราในระดับที่เท่าๆ กันทั้งหมดตั้งแต่ ๒ อย่างขึ้นไป แต่เราก็ต้องเลือกเพียงอย่างเดียว สุขภาพจิต หมายถึงคุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับสังคมได้ดี พอสมควรและสามารถจะสนองความต้องการของตนเองในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและ สิ่งแวดล้อมอื่นโดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจมากนัก คนที่สุขภาพจิตดี จะสามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้ในระดับที่เหมาะสม สามารถลดความวิตกกังวลอันเนื่องมาจากการแก้ปัญหาหรือเนื่องมาจากความขัดแย้งด้วยวิธีการที่สมเหตุสมผลและไม่ใช้ กลวิธานป้องกันตนเองอย่างใดอย่างหนึ่งนานๆ หรือรุนแรงจนเกินไป

 ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีนั้นจะต้องมีลักษณะดังนี้
 ๑. เป็นผู้ที่รู้จักและเข้าใจตนเองอย่างดี ซึ่งจะแสดงออกในรูปของ - ยอมรับความผิดหวังได้อย่างกล้าหาญ - ใจกว้างพอที่จะยอมรับและเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น - ประมาณความสามารถของตนเองได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง - ยอมรับสภาพความขาดแคลนหรือขีดจำกัดบางอย่างของตนได้ และยอมรับนับถือตนเอง - สามารถจัดการกับสภาพการณ์หรือเหตุการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนได้ - พอใจและชื่นชมยินดีต่อความสุขหรือความสำเร็จของตนที่เกิดในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเล็กน้อยก็ตาม ข้อควรคิดสำหรับครูเกี่ยวกับสุขภาพจิต การที่ครูจะทำหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพจิตของเด็กได้ดีนั้น ตัวครูเองจะต้องมีสุขภาพจิตดีด้วย มิฉะนั้นก็คงจะส่งเสริมเด็กได้ยาก ครูจึงควรสำรวจตัวเองอยู่เสมอว่าสุขภาพจิตของตนยังดีอยู่หรือไม่ ครูที่มีความบกพร่องทางสุขภาพจิตจะมีลักษณะดังนี้
 ๑. รู้สึกไม่พอใจเกี่ยวกับตัวเองอยู่เสมอ ทำอะไรเป็นทุกข์เป็นร้อน มีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย
 ๒. ไม่พอใจในหน้าที่ของตน เช่น เห็นว่างานของครู จุกจิกเบื่อการพร่ำสอนเด็ก เห็นเด็กมีพฤติกรรม น่าเวียนหัว เบื่อการตรวจการบ้าน เห็นการบ้านของเด็กแล้วมีความระอา 
๓. ไม่พอใจในสังคม มักจะคิดว่าครูคนอื่นไม่เป็นมิตรกับตน ผู้ปกครองเด็กไม่เคารพนับถือตน ตนเข้ากับใครไม่ได้ มีความคับข้องใจอยู่ตลอดเวลา ทำให้ตัวเองไม่มีความสุข 

ความหมายของทัศนคติ ทัศนคติ (Attitude) หมายถึงความรู้สึกและท่าทีของคนเราที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นความรู้สึกในทางชอบ ไม่ชอบและมีผลทำให้บุคคลพร้อมที่จะตอบสนองต่อสิ่งนั้นตามความรู้สึกดังกล่าว องค์ประกอบทัศนคติ จากความหมายของทัศนคติที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ทัศนคติประกอบไปด้วย
 ๑. องค์ประกอบทางด้านความคิด (Cognitive Component) ซึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้ของบุคคล ต่อสิ่งของ บุคคลหรือเหตุการณ์ต่างๆ ถ้าเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างดีอย่างแท้จริงและเกิดทัศนคติในทางที่ดี ในทางตรงกันข้าม ถ้าเกิดการรับรู้ในทางที่ไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง ยากไป ก็จะมีทัศนคติไม่ดีต่อสิ่งนั้น
 ๒. องค์ประกอบทางด้านความรู้สึก (Affective Component) เป็นสภาพทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่บุคคลถูกเร้าจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งถ้าเราชอบ สบายใจ สนุก ก็จะเกิดทัศนคติที่ดีแต่ถ้าไม่ชอบ ไม่สนุก ถูกดูหมิ่น ถูกเยาะเย้ย ก็จะมีทัศนคติในทางที่ไม่ดี 
๓. องค์ประกอบทางด้านแนวโน้มของการกระทำ (Action Tendency Component) เป็นทิศทางของการตอบสนองหรือการกระทำในทางใดทางหนึ่งซึ่ง เป็นผลมาจากองค์ประกอบด้านความคิดและความรู้สึก ของบุคคลต่อสิ่งเร้า ถ้ารู้ว่าดี เรียนแล้วเข้าใจ เรียนแล้วสนุก มีแนวโน้มจะเข้าเรียนตลอดเวลา สนับสนุน ส่งเสริม เป็นพวกด้วยหรือร่วมกิจกรรมด้วย ในทางตรงกันข้ามถ้าเรียนแล้วไม่เข้าใจ ยาก ไม่สนุก ถูกดุว่า ถูกดูหมิ่น เพื่อนหัวเราะเยาะก็มีแนวโน้มจะไม่อยากเข้าเรียน คอยหลบหน้า คอยต่อต้านขัดขืนและไม่ร่วมกิจกรรมด้วย

 ธรรมชาติของทัศนคติ
 ๑. ทัศนคติเกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์ของบุคคล
 ๒. ทัศนคติเกิดจากความรู้สึกที่สะสมมานาน
 ๓. ทัศนคติเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลโดยทั่วไปได้
 ๔. ทัศนคติสามารถถ่ายทอดออกไปสู่คนอื่น ๆ ได้ 
๕. ทัศนคติเปลี่ยนแปลงได้ ลักษณะของทัศนคติ ๑. ทัศนคติเชิงบวก - ลบ ยิ่งสะสมประสบการณ์ในทางใดทางหนึ่งอย่างเต็มที่หรืออาจเกิดจากอคติมากๆ จะทำให้มีความเข้มข้นสูงมากเป็นทัศนคติเชิงบวกสุดหรือลบสุด ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก ๒. เกิดจากความรู้ความเข้าใจ (Cognitive) ต่อสิ่งเร้าในทางที่ดีหรือไม่ดี หรือเฉย ๆ คนเก่ง (รู้ในทางดี) จะเกิดทัศนคติทางบวก เป็นคนเฉย ๆ (รู้กลาง) จะไม่เกิดทัศนคติ ชอบขโมย (รู้ในทางไม่ดี) จะเกิดทัศนคติในทางลบ ๓. การแยกแยะเป็นส่วน (Differentiation) การรับรู้ต่อสิ่งเร้าอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยพิจารณา องค์ประกอบย่อยแต่ละส่วน จะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วน จะก่อให้เกิดทัศนคติในทางใดทางหนึ่งได้ดีกว่า การรับรู้ที่คลุมเครือ หรือรับรู้รวมๆ ๔. โดดเดี่ยว (Isolation) ทัศนคติต่อสิ่งเร้าบางอย่าง อาจจะแตกต่างไปจากทัศนคติที่มีต่อสิ่งเร้านั้นโดยส่วนรวม เช่น เราไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ แต่เราอาจจะเฉยๆ หรือชอบครูที่สอนคณิตศาสตร์ก็ได้ ถ้าครูคนนั้นสวย พูดจากอ่อนหวานหรือมีลักษณะบางอย่างที่เราชอบ ๕. เข้มข้น (Strength) ทัศนคติเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าทัศนคติต่อสิ่งเร้าหรือเหตุการณ์ บางอย่างที่สะสมมานาน และลงรากลึกถาวร จะเปลี่ยนแปลงได้ยาก ถ้าให้คนที่เคยชินกับระบบอาวุโสเคยออกแต่คำสั่ง หรือเข้มงวดกับระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างมากๆ มารับฟังความคิดของคนอายุต่ำกว่า หรือให้เด็ก ทำอะไรได้ตามใจชอบโดยไม่ตั้งกฎอะไรเลย จนกว่าเด็กจะรู้เองว่าควรจะปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อยู่ในสถาบันแห่งใดแห่งหนึ่งนั้น เป็นเรื่องยากมาก การสร้างและพัฒนาทัศนคติที่ดีต่อการเรียน 
๑. การสร้างทัศนคติที่ดีต่อโรงเรียนและวิชาต่าง ๆ อาจทำได้โดย 
 ๑.๑ จัดประสบการณ์ที่นำความพอใจ นำความสนุกสนานมาให้แก่ผู้เรียน โดยการสอนวิชาต่างๆ ให้เด็กเกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริง 
 ๑.๒ ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ในเรื่องต่าง ๆ เช่นความประพฤติ ความมีวินัยในตนเองและวินัยทางสังคม ให้ความอบอุ่นและพยายามทำความเข้าใจและรับรู้ปัญหาส่วนตัวของเด็ก เด็กจะเลียนแบบทัศนคติ ต่อบางสิ่งบางอย่างไปจากครูได้
 ๑.๓ จัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ในโรงเรียน ให้น่าสนใจ เช่น สภาพของห้อง บรรยากาศในห้องเรียน มีการจัดห้องสมุดศูนย์การเรียน ห้องอ่านหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ และห้องชวนคิดเป็นต้น
 ๒. การเปลี่ยนแปลงแก้ไขทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียน ต่อวิชาเรียนตลอดจนกฎข้อบังคับต่างๆ อาจทำได้โดยค้นให้พบสาเหตุที่ทำให้เด็กมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อบางสิ่งบางอย่าง แล้วจึงหาทางแก้ไขซึ่งอาจทำได้โดย
 ๒.๑ ให้การแนะแนว หรือให้คำแนะนำที่ถูกต้อง ถ้ามีทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชาเรียน อาจจะพูดถึงประโยชน์ที่ได้จากการเรียน พูดถึงวิธีสอน ว่าแต่ละฝ่ายทั้งครูและนักเรียนต้องร่วมมือกัน 
 ๒.๒ อาจใช้พลังกลุ่มช่วยในการเปลี่ยนแปลงนิสัยไม่ดีบางอย่าง เช่น การยกพวกตีกัน การนัดหยุดเรียน หรือนัดกันไม่ส่งงาน โดยการใช้พลังกลุ่มส่วนมากกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง เช่น การพัฒนา ช่วยกันตั้งชมรมบำเพ็ญประโยชน์ ชมรมดนตรีและการละคร หรือกลุ่มออกค่ายอาสาพัฒนาแล้วนำผลงานของแต่ละกลุ่ม มาเสนอ ในที่ประชุมให้เด็กที่เราต้องการจะเปลี่ยนนิสัยบางอย่างดูเป็นแบบอย่างจะช่วยแก้ไขได้
 ๒.๓ มีการให้แรงเสริมประเภทต่าง ๆ โดยเลือกหาแรงเสริมที่ตรงกับความต้องการของเด็กจากการแข่งขันกลุ่มสีต่าง ๆ การเลือกเด็กบางคนเข้าทำงานบางอย่างของวิทยาลัย หรือของหน่วยงานอื่นๆ 
 ๒.๔ การใช้บทบาทสมมติ (Role playing) ช่วยแก้ไขพฤติกรรมบางอย่าง อาจจะเลือกคนที่มีปัญหามาเล่นบทบาทสมมติด้วยตนเอง ถ้าเขาประสบผลสำเร็จในการแสดงก็จะมีผลต่อความคิด ความรู้สึก และการกระทำมองเขาด้วยในภายหลั
ง ๒.๕ ใช้วิธีการเชื่อมโยง สิ่งเร้าตั้งแต่ ๒ อย่างขึ้นไป ตามทฤษฎีการวางเงื่อนไขของ พาฟลอฟ (Pavlovis Classical Conditioning) เช่น การพูดถึงโทษของยาเสพติดอาจทำได้โดย ความสนใจกับการเรียนรู้ ความสนใจ (Interest) เป็นส่วนหนึ่งของทัศนคติ กล่าวคือเป็นความรู้สึกในทางที่ดีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้แนวโน้มของพฤติกรรมเป็นในทางที่ดี เช่น ถ้าเด็กสนใจคณิตศาสตร์ จะเข้าเรียนทุกชั่วโมงและใช้เวลาส่วนใหญ่ไปเพื่อวิชานี้ มากกว่าอย่างอื่นความสนใจของบุคคลจะแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ ความถนัด รวมทั้งสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นสำคัญ

 การสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน 
๑. ต้องศึกษาถึงความต้องการของผู้เรียนโดยส่วนใหญ่ว่าเป็นอย่างไร จะได้จัดบทเรียน สภาพห้องเรียน สื่อการเรียนต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของเขา 
๒. ก่อนจะสอนเรื่องใดควรสำรวจความสามารถพื้นฐานตลอดจนความถนัดของผู้เรียนก่อน เพื่อจัดสิ่งเร้าให้ตรงกับที่เขาต้องการ
 ๓. จัดสภาพห้องเรียนให้น่าสนใจ ตั้งคำถามยั่วยุและท้าทายความสามารถของนักเรียน ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวกับสภาพการณ์บางอย่างที่เป็นปัญหา ที่แปลกไปจากเดิม เป็นต้
น ๔. ให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในงานที่ทำบ้าง เพื่อเป็นกำลังใจให้เขาทำงานระดับสูงต่อไป โดยเลือกงานที่เหมาะกับความสามารถและความถนัดของผู้เรียน จะช่วยให้เขาสนใจงานที่มอบหมายให้ทำ
 ๕. ชี้ทางหรือรายงานผลความก้าวหน้าของผู้เรียนให้ทราบเป็นระยะๆ ให้เขาได้ทราบว่าเขาก้าวมาถึงไหนแล้ว อีกไม่กี่ขั้นก็จะถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการแล้ว จะทำให้เขาตั้งใจทำเพื่อผลสำเร็จของตัวเขาเอง 
๖. ฝึกให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเขาบ้าง จากการศึกษานอกสถานที่ จากการสังเกต หรือจากการสัมภาษณ์ สอบถามจากแหล่งวิชาการต่าง ๆ ตลอดจนการทดลองค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ด้วยวิธีการเรียนแบบสืบสวนสอบสวน หรือให้นักเรียนฝึกเป็นผู้นำและผู้ตามได้ในโรงเรียน หรือนอกห้องเรียน โดยให้นักเรียนเป็นผู้ดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนและการฝึกวินัยด้วยตัวของนักเรียนเอง จิตวิทยาการเรียนรู้ การเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลก อื่น ๆ ดังพระราชนิพนธ์บทความของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ ที่ว่า "สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า คนย่อมมีปัญญา ที่จะนึกคิดและปฏิบัติสิ่งดีมีประโยชน์และถูกต้องได้ . .........." การเรียนรู้ช่วยให้มนุษย์รู้จักวิธีดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพการต่างๆ ได้ ความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์จะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จและความพึงพอใจในชีวิตของมนุษย์ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น